การปฏิบัติดำเนินสู่สภาวะจิตว่าง

กอปรด้วยคำสามคำ คือ

  • รับรู้..
  • เฝ้าดู..
  • ติดตาม..ให้ได้ตลอดและต่อเนื่องแบบอยู่เฉยๆ

การรับรู้คือวิญญาณ โดยผ่านอายตนะทั้งหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นช่องทางผ่านการรับรู้และรู้สึกที่เป็นการรับรู้และรู้สึกในระดับกายภาพ อันเป็นช่วงคลื่นความถี่ที่มีการรับรู้และรู้สึกอย่างมีขีดจำกัด การรับรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการไหลและเคลื่อนตัวของพลังงาน ที่อยู่ในรูปของประจุกระแสไฟฟ้า ถ้าการรับรู้และรู้สึกที่อยู่ในระดับกายภาพ การรับรู้และรู้สึกนั้นก็ยังมีขีดจำกัด ซึ่งไม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงธรรมชาติของจิตได้ทั้งหมด ดังนั้น จึงต้องมีการฝึกจิตและพัฒนาคลื่นความถี่สมอง ในสมองส่วนหน้าอันเป็นเรื่อง ความคิด รับรู้และรู้สึก รวมถึงการบังคับและควบคุมฯลฯ ในสมองส่วนกลาง อันเป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของจิตใจ การตื่นตัวของจิตประสาท และสร้างภาพจากการจดจำและมองเห็นฯลฯ ในสมองส่วนหลังหรือท้ายทอย เป็นส่วนของการบันทึกและจดจำ ควบคุมและรักษาความสมดุลให้กับร่างกายและจิตใจฯลฯ การพัฒนาช่องทางการรับรู้และรู้สึกหรือคลื่นความถี่สมองให้อยู่ในย่านความถี่สนามแม่เหล็ก จะเป็นการขับเคลื่อนให้เลื่อนไหลของพลังงานอยู่ตลอดเวลาส่งผลการรับรู้และรู้สึกอย่างไร้ขีดจำกัดได้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง แนวทางการปฏิบัติอยู่ที่ การทำกาย จิต และจิตวิญญาณ ให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีแห่งธรรมชาติกลมกลืนแบบแบ่งแยกมิได้

การเฝ้าดูก็คือจิต จิตคือ สัญญาแห่งความคิด การนึกคิด และการผุดคิด จิตอยู่ในรูปกลุ่มก้อนพลังงาน ทำงานเมื่อเป็นกระแสไฟฟ้า ความคิดเกิดจากการแปรเปลี่ยนของสัญญาเพื่อการรักษาความสมดุลของพลังงาน อันมีสัญญาเก่าที่เกิดจากการจดจำหมายรู้ และสัญญาใหม่ที่มากระทบ ต่อจากนั้นก็แปรเปลี่ยนมารวมกันเป็นจดจำหมายรู้ต่อไปจึงเป็นการรวมกลุ่มก้อนพลังงานของสัญญาที่อยู่ในรูปของจิต ดังนั้นความคิดจึงเกิดขึ้นในขณะที่สัญญากำลังจะแปรเปลี่ยนเมื่อเสถียรแล้วความคิดจึงไม่เกิด การเฝ้าดูจิตหรือการเฝ้าดูธรรมชาติของจิต จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ที่เป็นปฏิกิริยาอัตราเร่งที่ทำให้สัญญาแห่งจิตมีการขยายตัวด้วยความเร็วรอบสูงยิ่ง ถ้าจิตนั้นอิสระแบบสมบูรณ์โดยปราศจากอุปปาทานหรือเครื่องผูกรัดอย่างสิ้นเชิง ความเร็วรอบของสัญญาแห่งจิตจะมีความเร็วแสงและเหนือแสง ทำให้เกิดขบวนการนิวเคลียร์ฟิสิกค์เมดิเตชั่น ซึ่งมีปฏิกิริยา 2 รูปแบบในเวลาเดียวกันนั่นคือ ฟิวชั่น และฟิกซ์ชั่น คือการรวมอนุภาคที่จุดศูนย์กลางของธาตุ และแตกระเบิดประจุให้ขยายตัวโดยฉับพลัน สิ่งที่ตามมาคือ การแปรธาตุ และดำเนินสู่ปรมัตถ์ธาตุเมื่อมีเหตุปัจจัยถึงพร้อม

คำสุดท้ายคือ การติดตามต่อเนื่องก็คือ สติ สติคือ ความรู้สึก ระลึกได้ รู้ตัวอยู่ทั่วพร้อม การยับยั้งการกระทำที่เป็นอกุศลกรรม การรักษาอารมณ์ที่เป็นเหตุปัจจัยให้ถึงพร้อม ซึ่งเป็นความรู้สึกในระดับกายภาพที่ยังต้องใช้ความพยายามของการตั้งมั่นในการฝึกจิตให้ถึงพร้อมไปด้วยสติ จึงต้องมีการเจริญสติอยู่เป็นเนืองนิจ เพื่อให้ได้มาซึ่ง มหาสติ อันเป็นความรู้สึก ระลึกได้ และรู้สึกตัวอยู่ทั่วพร้อม ได้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง มันเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติแบบไม่ต้องใช้ความพยายาม เพียงแต่ตั้งจิตดูมันเฉยๆ จิตก็ทำงานให้เห็นเป็นความรู้สึก ระลึกได้ และรู้ตัวอยู่ทั่วพร้อมแบบอัตโนมัติ เห็นการเกิดขึ้น ทรงอยู่ และดับไป เห็นสัญญาของจิต ตั้งแต่ สงบ ขยาย สลายไป เป็นอย่างนี้ทุกครั้งไป เห็น..มันเห็นของมันเอง เป็น..มันเป็นของมันเอง เห็นและเป็น..มันเป็นของมันเอง จนกระทั่งเสถียร สุดท้ายมันเป็นเช่นนั้นเอง ด้วยความรู้สึกของมันเองที่ไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย แค่ “รับรู้ เฝ้าดู ติดตาม อยู่เฉยๆๆๆๆ…….” การดูธรรมชาติของจิตจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการฝึกจิต ที่นำพาไปสู่ความสำเร็จมรรคผลนิพพาน แนวทางการปฏิบัติ ต้องเปลี่ยนคลื่นสมองให้อยู่ในย่านความถี่ที่เป็นสนามแม่เหล็ก จึงจะขับเคลื่อนเป็นมหาสติได้เองโดยอัตโนมัติ เมื่อนั้นเหตุปัจจัยถึงพร้อมก็จะเกิดขึ้นเอง

จิตว่าง3

ใส่ความเห็น